วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการไบโอดีเซล





ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล จัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ทำจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่นเมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester การเรียกชื่อประเภทของไบโอดีเซลขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือเอทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น ไบโอดีเซลแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้เลย
ไบโอดีเซลแบบผสม เป็นการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์มาผสมกับ
น้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดีเซล ก่อนนำไปใช้เช่น โคโคดีเซล (Coco-diesel) และปาล์มดีเซล (Palm-diesel) เป็นต้น ไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ได้จากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification process) ซึ่งนำแอลกอฮอล์มาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์โดยใช้กรด หรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
1. น้ำมันปาล์มดิบ
2. น้ำมันมะพร้าว ราคาวัตถุดิบต่ำ แต่เสถียรภาพด้านปริมาณและมูลค่าเพิ่มไม่ดีเท่าน้ำมันปาล์มดิบ
3.
น้ำมันสบู่ดำ
4.
น้ำมันดอกทานตะวัน
5. น้ำมันเมล็ดเรพ (rape seed oil)
6.
น้ำมันถั่วเหลือง
7.
น้ำมันถั่วลิสง
8.
น้ำมันละหุ่ง

9. น้ำมันงา



น้ำมันพืชใขั้นตอนการผลิต
การทำไบโอดีเซล
1. ขั้นตอนจากพืชน้ำมันไปเป็นน้ำมันพืช
2. ขั้นตอนจากน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล



ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซล
1. นำน้ำมันพืชที่ได้จากพืชน้ำมันมาผสมทำปฏิกิริยากับ
เมทานอล (methanol) กับสารเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะได้เป็นไบโอดีเซล กับกลีเซอรีน
2. แยก
กลีเซอรีนออก ทำความสะอาดไบโอดีเซล
มาตรฐานคุณภาพ
1. ตัวจุดวาบไฟ (flash point) โดยปกติมาตรฐานจะอยู่ที่ 130 ถ้าหากสูงกว่านี้ คือเป็น 150 หรือ 170 จะทำให้รถสตาร์ทติดยาก
2. ความบริสุทธิ์ของไบโอดีเซล
ข้อแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลกับน้ำมันดีเซล
จุดวาบไฟของน้ำมันดีเซลต่ำ ประมาณ 50 กว่า ในขณะที่จุดวาบไฟของน้ำมันไบโอดีเซล ประมาณ 100 กว่าขึ้นไป
น้ำมันดีเซลมีกำมะถันสูง แต่น้ำมันไบโอดีเซลไม่
ผลต่อการทำงานของรถยนต์
ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ ที่เรียกว่า particulate matter ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมด
อ้างอิง
พิศมัย เจนวนิชปัญจกุล, คุยเฟื่องเรื่องวิทย์, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 20 ฉบับที่ 3, 2548, หน้า 12-16
อีลีหย๊ะ สนิโซ เชิดตระกูล หอมจำปา และ สูรายา เจ๊ะเต๊ะ.
ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนและความหนืดของน้ำมันพืชใช้แล้วผสมกับน้ำมันดีเซล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2551.